พอเข้ามาในสถานีแล้ว อันดับแรกมองหาป้ายบอกเวลารถไฟที่จะมาถึงและช่องชานชลาที่เราจะต้องขึ้น เช่น จะไปโตเกียว เราดูเวลามาแล้วว่าเราจะขึ้นขบวน 12.43น. ซึ่งเป็นรถไฟสายด่วน ทีนี้จะต้องไปรอที่ชานชลาช่องไหนดีละ??!! มองขึ้นไปข้างบนเลยค่ะ จะมีป้ายไฟบอกเวลาแต่..อักษรคันจิเต็มไปหมดเลย ให้รอสักครู่ ป้ายจะเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษสลับกับภาษาญี่ปุ่น ในป้ายจะแสดงเวลาที่รถไฟขบวนถัดไปจะมาถึงตามลำดับ พร้อมทั้งบอกจุดที่จะต้องไปรอ ในเมืองใหญ่ๆเช่น โตเกียว โอซาก้า จะมีรถไฟค่อนข้างถี่ ดังนั้นจะมีการใช้สัญลักษณ์สามเหลี่ยม วงกลม เพื่อง่ายในการแยกแถวต่อคิว แต่ตามเมืองทั่วไปหลักการพิ้นฐานในการดูป้าย ดังนี้
มองหาหมายเลขชานชลา และ เดินตามป้าย ในรูปตัวอย่างจะไป ชานชลาหมายเลข 3
ในชานชลาจะมีป้ายบอกเวลาของรถไฟขบวนที่จะออก และบางสถานีจะมีเจ้าหน้าที่ประกาศด้วย
ป้ายสัญลักษณ์ Green car สำหรับคนที่ซื้อตั๋วแบบจองที่นั่ง
เพื่อไม่ให้สับสนจุดในการรอยืนรถไฟ เราควรสังเกตป้ายเวลาให้ดีและดูว่าเราซื้อตั๋วประเภทไหน เผื่อเวลาในการขึ้นรถไฟไว้เยอะๆ
ถ้าไม่แน่ใจควรถามเจ้าหน้าที่ เพราะถ้าขึ้นผิดบางขบวนก็อาจจะหลงไปไกล ทำให้เสียค่าใช้จ่าย และเสียเวลาด้วย
กรณีนั่งเลยป้าย พอรู้ตัวให้รีบลง ในบางสถานีจะมีเครื่องแก้ไขรายการ Fare Adjustment (のりこし= norikoshi)
หรือสอบถามเจ้าหน้าที่ในสถานีก็ได้
แม้ว่าการเดินทางโดยรถไฟจะสะดวกสบาย แต่ค่าใช้จ่ายในการขึ้นรถไฟนั้นถ้าเทียบกับบ้านเราแพงกว่ามาก หนึ่งสถานีประมาณ
140 เยน หรือประมาณ 50 บาท ดังนั้นเราควรศึกษาเส้นทางให้ดีก่อนขึ้นรถไฟทุกครั้ง
ในสถานีใหญ่ๆมักจะมีหลายชานชลาติดกัน กรณีที่มากันเป็นกลุ่มอาจจะต้องรอกันหรือมีการแยกตัวไปแล้วกลับมาที่กลุ่มอีกครั้ง
สิ่งสำคัญที่สุดก่อนที่จะแยกย้ายกับเพื่อนคือ จะต้องจำเลขที่ชานชลาที่เราจะขึ้นรถไฟโดยดูจากป้ายด้านบน หรือดูป้ายจุดยืนรอเลขโบกี้ที่เราจะต้องขึ้น (ส่วนใหญ่จะติดที่พื้น) กรณีที่คนเยอะมากๆเราอาจจะมองป้ายโบกี้ที่พื้นไม่เห็นก็สังเกตุเลขที่เสาหรือจุดสังเกตุอื่นก็ได้นะคะ เช่น ใกล้เครื่องขายน้ำอัตโนมัติ เป็นต้น
新幹線 = shinkansen รถไฟความเร็วสูงชินกันเซน
…両 = ..ryō จำนวนของตู้รถไฟ (โบกี้)
…号車 = ..gōsha ตู้รถไฟที่...