เทศกาลหยวนเซียว
เทศกาลหยวนเซียว
จาก http://th.wikipedia.org
ในเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติเรียกว่า เดือนหยวน, และในสมัยก่อนเรียกเวลากลางคืนว่า เซียว ในภาษาจีนกลาง ดังนั้น ในประเทศจีนวันนี้จึงถูกเรียกว่า
เทศกาลหยวนเซียว(元宵) ในวันที่ 15 ของเดือนแรกในปีจันทรคตินี้เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ตามประเพณีของลัทธิเต๋าวันที่ 15 ในเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติ เรียกว่า ซ่างหยวน ตรงกับคำเรียก "เทพแห่งฟ้า" ท่านเป็นผู้ที่ชอบแสงสว่าง และวัตถุแห่งความสุข ดังนั้น ผู้คนจึงได้แขวนโคมไฟสีสันสวยงามนับพันๆ เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณท่าน ในปัจจุบันผู้คนจะมีการละเล่นแก้ปริศนาที่อยู่ในโคมไฟ และกินขนมบัวลอยในเทศกาลหยวนเซียว yuanxiao เรียกว่า
ขนมทังหยวน (汤圆; tāngyuán) และครอบครัวก็มีการมารวมตัวกันอย่างมีความสุข
credit ภาพ : http://www.secretchina.com
ตำนานกำเนิด
มีความเชื่อที่หลากหลายต่างๆ กันเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเทศกาลโคมไฟ อย่างไรก็ตาม มีหนึ่งตำนานที่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ก่อกำเนิดจริงๆ คือ "ความมืดลงของฤดูหนาว" และ ผู้คนในชุมชนสามารถที่จะ "ลบความมืดนั้นออกไปด้วยแสงสว่างที่เกิดจากฝีมือมนุษย์" ที่เรียกว่า โคมไฟ ในสมัยของราชวงศ์ฮั่น เทศกาลนี้มีความเชื่อมโยงกับเทพเจ้าไท่อี่, เทพเจ้าแห่งดาวขั้วฟ้าเหนือ
มีหนึ่งตำนานบอกว่า มันคือช่วงเวลาของการบูชาเทพเจ้าไท่อี่ เป็นเทพเจ้าแห่งฟ้า เชื่อว่าเทพแห่งฟ้านี้คือผู้กุมโชคชาตะชีวิตของมนุษย์. ท่านมีมังกร 16 ตัวอยู่ที่่หลัง ยามที่เกิดภัยแล้ง พายุ โรคระบาดในมนุษย์ ก็จะต้องเรียกให้ท่านช่วย นับตั้งแต่กษัตริย์จินซีฮ่องเต้ กษัตริย์องค์แรกของจีน มาจนถึงกษัตริย์ทุกพระองค์จะต้องมีการจัดเทศกาลฉลองอย่างสวยงามในทุกๆ ปี โดยที่กษัตริย์ก็จะขอให้เทพเจ้าไท่อี่ดลบรรดาลให้อากาศดี และสุขภาพร่างกายแข็งแรงจงเกิดกับตัวเขาเองและประชาชน
กษัตริย์ฮั่น หวู่ตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่น มีความสนใจในเทศกาลนี้มาก ในปีคริสตศักราช 104 เขาได้ประกาศให้เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดเทศกาลหนึ่ง และให้มีการเฉลิมฉลองกันตลอดทั้งคืน
ตำนานเทศกาลโคมไฟอีกอันหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับลัทธิเต๋า เทียนกวน เป็นเทพแห่งลัทธิเต๋ารับผิดชอบเกี่ยวความโชคดี ท่านเกิดตรงกับวันที่ 15 ในเดือนแรกของปีจันทรคติ กล่าวกันว่าท่านเทียนกวนชอบความบันเทิงทุกประเภท ดังนั้นผู้ที่นับถือจึงจัดเตรียมกิจกรรมความสนุกที่หลากหลายในเวลาที่ขอพรให้ตนเองโชคดี
ตำนวนเทศกาลโคมไฟอีกอันหนึ่ง ก็จะมีที่เกี่ยวข้องกับนักรบที่ชื่อว่า Lan Moon, เขาเป็นผู้นำการก่อกบฎต่อต้านกษัตริย์เผด็จการสมัยจีนโบราณ เขาถูกฆ่าลงท่ามกลางพายุกลางเมือง และการทำกบฎสำเร็จจึงได้ใช้ชื่อเขาเป็นชื่อเทศกาลเพื่อเป็นอนุสรณ์
ตำนานเทศกาลโคมไฟอีกอันหนึ่ง กล่าวถึงนกกระเรียนสวยงามที่บินลงมาจากสวรรค์สู่โลกมนุษย์ หลังจากที่บินลงถึงโลกมนุษย์ก็ถูกฆ่าตายโดยชาวบ้านของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ทำให้พระเจ้ายวู่ฮวงต้าตี้ ที่อยู่บนสวรรค์โกรธมาก เพราะท่านโปรดปรานนกกระเรียนมาก ดังนั้นท่านจึงได้วางแผนจะให้เกิดพายุไฟขึ้นในหมู่บ้านแห่งนั้นในวันที่ 15 เดือนแรกของปีจันทรคติ ลูกสาวของพระเจ้ายวู่ฮ่วงต้าตี้ทราบเข้า จึงได้ไปเตื่อนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนั้น ชาวบ้านต่างวุ่นวายโกลาหลเพราะไม่มีใครรู้ว่าจะหนีจากภัยที่กำลังใกล้เข้ามานี้ได้ยังไง อย่างไรก็ตาม ก็มีชายผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดจากหมู่บ้านอื่นมาแนะนำให้ทุกบ้านจงแขวนโคมไฟสีแดงรอบๆ บ้าน ก่อกองไฟบนถนน และจุดประทัดในวันที่ 14 15 และ 16 แบบนี้ก็จะทำให้หมู่บ้านนี้ปรากฎแสงไฟต่อพระเจ้ายวู่ฮวงต้าตี้ และแล้วในวันที่ 15 กองกำลังทหารก็ถูกส่งลงมาจากสวรรค์เพื่อมาทำลายล้างหมู่บ้านนี้ เหล่าทหารก็ได้เห็นว่าหมู่บ้านเต็มไปด้วยแสงไฟที่ร้อนแรง ก็เลยกลับไปรายงานพระเจ้ายวู่ฮวงต้าตี้ ทำให้ พระเจ้ายวู่ฮวงต้าตี้เกิดความพอใจ และไม่คิดจะเผาทำลายหมู่บ้านนี้อีก จากวันนั้นเป็นต้นมา ผู้คนก็ฉลองในวันที่ 15 ในเดือนแรกของปีจันทรคติของทุกปี ด้วยการแขวนโคมไฟตามถนน และจุดประทัด ดอกไม้ไฟ
ตำนานเทศกาลโคมไฟอีกอันหนึ่ง เกี่ยวข้องกับสาวใช้ที่ชื่อ หยวนเซียว ในสมัยราชวงศ์ฮั่น, ตงฟางซั่ว คือขุนนางคนโปรดของกษัตริย์ฮั่นหวู่ตี้ ในฤดูหนาวปีหนึ่งเขาได้เดินไปในสวนและได้เห็นเด็กผู้หญิงคนหนึ่่งกำลังร้องไห้ และกำลังจะโดดลงไปในบ่อน้ำเพื่อฆ่าตัวตาย ตงฟางจึงได้ห้ามเธอไว้และถามว่าทำไมจึงคิดฆ่าตัวตาย เธอบอกว่าเธอชื่อหยวนเซียว เป็นสาวใช้ในวัง และตั้งแต่เธอมาทำงานในวัง เธอก็ไม่มีโอกาสได้ไปเยี่ยมครอบครัวเลย ถ้าเธอไม่มีโอกาสได้แสดงความกตัญญูต่อครอบครัว เธอก็ตายซะดีกว่า ตงฟางสัญญากับเธอว่าจะหาวิธีทำให้เธอได้กลับไปเยี่ยมครอบครัวให้ได้ ตงฟางจึงแอบออกจากวังและไปตั้งโต๊ะทำนายดวงชะตาบนถนน จากปากต่อปากทำให้ประชาชนต่างมาให้เขาทำนายกันมากมาย แต่ทุกคนก็ได้คำทำนายเดียวกันคือ จะเกิดไฟหายนะในวันที่ 15 ของเดือนแรกในปฏิทินจันทรคติ ข่าวลือแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว
ทุกคนต่างกังวลเกี่ยวกับคำทำนายและขอให้ตงฟางช่วย ตงฟางจึงบอกว่า ในวันที่ 13 เทพเจ้าแห่งไฟจะส่งนางฟ้าชุดแดงขี่ม้าดำลงมาเผาเมือง. เมื่อประชาชนเห็นนางฟ้าจะต้องร้องขอความเมตตาจากท่าน ในวันนั้นหยวนเซียวแกล้งปลอมตัวเป็นนางฟ้าชุดแดง. เมื่อประชาชนร้องขอให้เธอช่วย เธอบอกว่าเธอได้รับคำสั่งจากเทพเจ้าแห่งไฟให้มาจับตัวกษัตริย์ไป หลังจากที่เธอจากไป ประชาชนจึงเข้าไปในวังและกล่าวทูลว่าบ้านเมืองจะถูกเผาในวันที่ 15. กษัตริย์ฮั่นหวู่ตี้ขอคำแนะนำจากตงฟางว่าควรทำอย่างไรดี ตงฟางบอกว่าเทพเจ้าแห่งไฟชอบกินทังหยวน หยวนเซียวควรจะทำทังหยวนในวันที่ 15 และกษัตริย์ควรจะต้องสั่งให้ทุกบ้านทำทังหยวนเพื่อบูชาแก่เทพเจ้าแห่งไฟในวันนั้นด้วย และในเวลาเดียวกันทุกบ้านควรจะต้องแขวนโคมไฟสีแดงและจุดประทัด. และท้ายสุดคือทุกคนในวัง และประชาชนภายนอกในเมืองควรจะถือโคมไฟของตนเองเดินไปตามถนนเพื่อชมการตกแต่งโคมไฟและดอกไม้ไฟ. พระเจ้ายวู่ฮวงต้าตี้ก็จะถูกหลอกจากอุบายกลลวงนี้และทุกคนก็จะรอดพ้นจากไฟไหม้
กษัตริย์ฮั่นหวู่ตี้พอใจกับแผนการนี้ โคมไฟถูกประดับไปทั่วเมืองในคืนวันที่ 15 ประชาชนเดินไปตามถนน เสียงประทัดดังไปทั่ว มันดูราวกับว่าในเมืองถูกไฟเผา พ่อแม่ของหยวนเซียวเข้ามาในวังเพื่อดูการตกแต่งโคมไฟจึงทำให้ได้เจอกับลูกสาวอีกครั้ง. กษัตริย์ฮั่นหวู่ตี้ได้สั่งให้ประชาชนควรจะต้องทำแบบนี้ทุกๆ ปี และนับตั้งแต่นั้นมาที่หยวนเซียวได้ทำขนมทังหยวน ประชาชนก็เลยต่างพากันเรียกเทศกาลนี้ว่า
เทศกาลหยวนเซียว
credit ภาพ : http://www.yogeev.com
ตามหาความรัก
ในวันแรก หนุ่มสาวจะออกมาเดินตามท้องถนนเพื่อหวังที่จะตามหารัก แม่สือต่างทำงานกันวุ่นวายในการจับคู่ ความสว่างของโคมไฟเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความโชคดีและความหวัง เมื่อเวลาผ่านไป แม้ระยะเวลาในการเฉลิมฉลองจะสั้นลงแต่เทศการนี้ก็ยังคงมีความสำคัญในประเทศจีน และยังคงเปรียบเสมือนเทศกาลแห่งความรัก Valentine's Day ในฮ่องกงอีกด้วย
หยวนเซียว
credit ภาพ : http://baike.baidu.com
อาหารการกินในเทศกาลโคมไฟ,
ทังหยวน '湯圓' คือ ข้าวเหนียวปั้นเป็นลูกกลมๆ ข้างในใส่ไส้ถั่วแดงหวานๆ, งา หรือ ถั่วเนย ลงไป ชาวจีนมีความเชื่อว่ารูปร่างกลมๆ ของทังหยวนและชามกลมๆ ที่บรรจุทังหยวน เป็นสัญลักษณ์ของการอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวของคนในครอบครัว และการกินทังหยวนจะเป็นการนำความสุข และ โชคดีให้กับครอบครัวในปีใหม่
credit ภาพ : http://baike.baidu.com
ในศตรวรรษที่ 6 และหลังจากนั้น
จนกระทั่งถึงยุคของราชวงศ์สุย ในศตวรรษที่ 6 กษัตริย์หยางตี้ ได้เชิญทูตจากประเทศอื่นๆ มายังประเทศจีน เพื่อมาร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ และชมแสงสีอันสวยงามจากการแสดงโคมไฟ
ในช่วงเริ่มต้นของราชวงศ์ถัง ในศตวรรษที่ 7, จะมีการฉลองโคมไฟกันนานถึง 3 วัน กษัตริย์ยกเลิกเคอร์ฟิว และอนุญาติให้ประชาชนสนุกสนานกับเทศกาลโคมไฟทั้งกลางวันและกลางคืน ดังนั้นจึงไม่ยากเลยที่จะหาบทกลอนจีนที่บรรยายถึงบรรยากาศความสุขของเทศกาลนี้
ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จะมีการฉลองเทศกาลโคมไฟนาน 5 วัน และกิจกรรมได้เริ่มมีการแพร่กระจายไปยังเมืองใหญ่ๆ ในจีน. แก้วสีสันสวยงาม และแม้กระทั่งหยกก็ได้ถูกนำมาทำเป็นโคมไฟ พร้อมด้วยภาพวาดพื้นบ้านลงบนโคมเหล่านั้น.
อย่างไรก็ตาม การฉลองเทศกาลโคมไฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในต้นศตวรรษที่ 15 โดยมีระยะเวลาการฉลองยาวนานถึง 10 วัน. กษัตริย์เฉิงจู่ ได้ให้จัดพื้นที่ใจกลางเมืองเป็นศูนย์กลางการจัดแสดงโคมไฟ. แม้แต่ในวันนี้ ก็ยังคงมีสถานที่ในปักกิ่ง ที่เรียกว่า เติงซื่อโข่ว Dengshikou ในภาษาจีน เติง deng หมายถึง โคมไฟ และ ซื่อ shi หมายถึงตลาด. พื้นที่นี้กลายเป็นตลาดที่จำหน่ายโคมไฟในตอนกลางวัน ส่วนตอนกลางคืนประชาชนก็จะมาที่นั่นเพื่อชมความสวยงามของแสงจากการแสดงโคมไฟ
ในวันนี้ การแสดงโคมไฟก็ยังคงเป็นการจัดงานที่สำคัญในวันที่ 15 ในเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติทั่วทั้งประเทศจีน. ตัวอย่างเช่น เมืองเฉิงตู ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวนของจีน มีการแขวนโคมไฟทุกปีในสวนสาธารณะ ในช่วงของเทศกาลโคมไฟ สวนสาธารณะนี้จะเต็มไปด้วยทะเลโคมไฟ. รูปแบบโคมไฟแบบต่างๆ เป็นที่ดึงดูดผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก. โคมไฟที่เป็นจุดสนใจที่สุดคือ โคมไฟมังกรขั้วโลก มันเป็นโคมรูปร่างมังกรทองที่ม้วนตัวขึ้นไปบนเสาสูง 38 เมตร และพ่นไฟออกจากปากของมัน. เมืองหางโจว และ เซี่ยงไฮ้ มีการนำไฟฟ้าและนีออนมาทำโคมไฟโดยใช้กระดาษและไม้พื้นเมืองมาเป็นส่วนประกอบคู่กัน กิจกรรมที่เป็นที่นิยมในเทศกาลนี้คือ การเดาปริศนาที่อยู่ในโคมไฟ (ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลนี้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง) ซึ่งโคมไฟจะบรรจุภายในไปด้วยข้อความที่แสดงถึงความโชคดี ความกลมเกลียวในครอบครัว การเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรือง และความรัก เหมือนกับฟักทองแกะสลักลงในโคมไฟแจ๊คในเทศกาลฮาโลวีนของโลกตะวันตก, ส่วนพ่อแม่ชาวเอเซียบางทีจะสอนเด็กๆ ให้แกะสลักลงตรงกลางที่กลวงของหัวไช้เท้า (营菜头灯; yíng cai tóu dēng) ในเทศกาล